วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งออกพริกไทยสดไปเยอรมณี

สำนักงานเกษตรกรรมและโภชนาการ เยอรมัน  (BLE)  เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าเกษตรและอาหาร แจ้งว่า ปัจจุบันในเยอรมนียังไม่มีระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานเป็นพิเศษสำหรับพริกไทยสดในด้านการนำเข้าพริกไทยสด จะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบทั่วๆ ไป สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตร เช่น ต้องปลอดภัย สะอาด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ปราศจากสารเคมีต้องห้ามต่างๆ ตลอดจนยาฆ่าแมลง หรือมีสารตกค้างเจือปนได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมนี แจ้งว่า ปัจจุบันมีการจัดพิกัดสำหรับพริกไทยชนิดเม็ดและพริกไทยป่น พิกัด H.S. 0904 11  และ 12 ตามลำดับ สำหรับพริกไทยสดจัดรวมกับพริกสดและของที่คล้ายคลึงกัน พิกัด 070960 99  พริกไทยสดที่จำหน่ายในเยอรมนี ส่วนใหญ่จะบรรจุในขวดแก้วแช่น้ำส้มหรือเกลือ เพื่อเก็บรักษาได้นาน มีวางจำหน่ายทั่วไปตามร้านค้าสินค้าอาหาร แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส ออสเตรียและสเปน เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีการเสนอขายในรูปแบบอบแห้ง ราคาโดยเฉลี่ยของพริกไทยทั้งสองประเภทนี้ระหว่าง 30 – 40 ยูโร/กกสำหรับพริกไทยสดของไทยที่ปัจจุบันเยอรมนีนำเข้า นั้น จะเป็นพริกไทยสดแช่เย็น แช่แข็งเป็นส่วนใหญ่ วางจำหน่ายตามร้านค้าของชำชาวเอเชียในเมืองใหญ่ๆ ของเยอรมนี โดยมีราคาจำหน่ายระหว่าง 12 – 18 ยูโร/กกนอกจากใช้เป็นเครื่องปรุงในการทำอาหารแล้ว ยังมีการใช้พริกไทยเป็นวัตถุดิบในการทำยาและเครื่องสำอางค์ได้อีกด้วย โดยใช้น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดพริกไทย ซึ่งส่วนผสมสำคัญเหล่านี้ตลอดจนความสะอาดของน้ำมันที่สกัดได้จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคาสินค้า เนื่องจากตามธรรมชาติพริกไทยแต่ละแหล่งจะมีสัดส่วนเจือปนมากน้อยแตกต่างกันไป
พริกไทยเป็นเครื่องเทศสำคัญที่เยอรมนีนำเข้ามาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพริกไทยขาวและพริกไทยดำ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของการนำเข้าเครื่องเทศทั้งสิ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านยูโร  แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆได้แก่ เวียดนาม (ส่วนแบ่งร้อยละ 30)  รองลงมาเป็นบราซิล และอินโดนีเชีย ส่วนแบ่ง ร้อยละ 20  และ 10 ตามลำดับ สำหรับพริกไทยที่นำเข้าจากไทยส่วนใหญ่จะเป็นพริกไทยสด มีการนำเข้าเป็นปริมาณ 70 ตัน มูลค่า 500,000 เหรียญสหรัฐ 


ที่มา
http://ethaitrade.com/2009/guildlines/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%94/

วิเคราะห์ SWOT analysis

จุดแข็ง
          - พริกไทยสดสามารถนำไปใช้ได้หลายอย่างนำไปประกอบอาหารได้ ทำยาได้และทำเครื่องสำอาง

จุดอ่อน
          - มีหลายประเทศที่สามารถปลูกพริกไทยได้ อาจมีคู่แข่งที่ราคาถูกกว่า

โอกาส
          - เราสามารถเผยแพร่ประโยชน์และสรรพคุณให้ประเทศในทวีปยุโรป และเราอาจมีโอกาสเปิดตลาดสินค้าประเภทผักชนิดอื่นเข้าสู่ยุโรป

อุปสรรค
           - เนื่องจากมีหลายประเทศที่สามารถปลูกพริกไทยสด คู่แข่งทางการค้าจึงมีเพิ่มขึ้น และอาจจะมีการแข่งขันด้านราคา
         

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศเยอรมนี




สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือเรียกสั้นๆ ว่าเยอรมันหรือเยอรมนี ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ คือเดนมาร์กอยู่ทางเหนือเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสอยู่ทางตะวันตก สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียอยู่ทางใต้ สาธารณรัฐเชคและโปแลนด์อยู่ทางตะวันออก นับเป็นประเทศยุโรปที่มีจำนวนเพื่อนบ้านมากที่สุด
นับตั้งแต่มีการรวมประเทศในปี ค.ศ. 1990 เยอรมันกลายเป็นประเทศสำคัญที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวเชื่อมยุโรปตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน แต่ยังเชื่อมประเทศทางตอนเหนือ คือ กลุ่มสแกนดิเนเวียกับกลุ่มประเทศทางตอนใต้ ซึ่งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป เยอรมันจึงเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างประเทศในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออก ยิ่งกว่านั้นการที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ยังทำให้เยอรมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการท่องเที่ยวแถบนี้
เยอรมันมีพื้นที่ประมาณ 357,000 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทางตอนเหนือของประเทศติดกับฝั่งทะเลเหนือ (North Sea) และทะเลบัลติค ทางตอนใต้จรดเทือกเขาแอลป์ในบาวาเรียน ระยะทางส่วนที่ยาวที่สุดจากเหนือจรดใต้ประมาณ 876 กิโลเมตร จากตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 640 กิโลเมตร ภูมิประเทศของเยอรมันมีทิวทัศน์งดงามแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ทั้งเทือกเขาสูงต่ำสลับกับที่ราบสูงและพื้นที่ลดหลั่นเป็นชั้น เนินเขาทะเลสาปตลอดจนที่ราบโล่งกว้างใหญ่ ทางตอนเหนือเป็นแนวชายฝั่งทะเลเต็มไปด้วยเกาะแก่ง ทะเลสาบ ท้องทุ่งที่มีพุ่มไม้ปกคลุม เนินทราย และบริเวณปากแม่น้ำที่สวยงาม ส่วนทางตอนใต้แถบที่ราบสูงชวาเบียน-บาวา เรียงเต็มไปด้วยเนินเขาและทะเลสาปขนาดใหญ่ มีบริเวณครอบคลุมถึงเทือกเขาแอลป์ในส่วนของเยอรมัน
ลักษณะภูมิอากาศและฤดูกาล
ลักษณะอากาศของเยอรมันเป็นแบบค่อนข้างไปทางหนาวเย็น มี 4 ฤดู คือ
ฤดูร้อน (มิถุนายน สิงหาคม) อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส แต่อาจจะสูงขึ้นถึง 30 องศา หรือสูงกว่า
ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน พฤศจิกายน) อากาศจะเย็นลงและมีฝน ใบไม้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองบ้าง สีแดงบ้างดูสวยงาม
ฤดูหนาว (ธันวาคม กุมภาพันธ์) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 5 องศา ถึง ลบ 5 องศาเซลเซียส โดยจะมีหิมะตกบ้าง
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม พฤษภาคม) อากาศจะอุ่นขึ้น ดอกไม้เริ่มบานและต้นไม้จะแตกใบอ่อน นำความเขียวขจีกลับมาอีกครั้ง
ระบบการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อระบบเผด็จการนาซีล่มสลาย มีการแบ่งเยอรมันออกเป็น 2 ประเทศในปี ค.ศ.1949 คือ เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก (ซึ่งประเทศทั้ง 2 ได้รวมเป็นเอกภาพเมื่อปี ค.ศ. 1990) ประกอบด้วยประธานาธิบดีสหพันธ์ (President) มีรัฐสภาซึ่งแบ่งเป็น สภาสูง (Bundestag) และสภาล่าง (Bundesrat) หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี (Chancellor) สิ่งที่น่าภาคภูมิใจในรัฐธรรมนูญเยอรมันก็คือ การระบุความสำคัญของสิทธิพื้นฐาน คนเยอรมันนับถือในเกียรติของความเป็นมนุษย์ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตามสามารถเรียกร้องสิทธิพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทรัพย์สิน และเสรีภาพทางหนังสือพิมพ์ การเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จะทำได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและการออกเงินตราของสหภาพยุโรป และเป็นสมาชิกขององค์กรนาโต้ (NATO) ในปี ค.ศ. 1990 เยอรมันตะวันออกซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน และปกครองแบบสังคมนิยมได้รวมประเทศเข้ากับเยอรมันตะวันตกกลายเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในปัจจุบัน

การปกครอง
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วย 16 รัฐ คือ บาเดน-เวือร์เทมแบร์ก บาวาเรีย เบอร์ลิน บรันเดนบวร์ก เบรเมน ฮัมบวร์ก เฮลเซน นีเดอร์ซัคเซน เมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน ไรน์ลันฟัลส์ ซาร์ลันด์ ซัคเซน ซัคเซน-อันฮัลท์ ชเลสวิก-โฮลชไตน์ และเธือริงเงน แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง โดยสภาผู้แทนแห่งรัฐมาจากการได้รับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคต่างๆ ในรัฐนั้นๆ และสามารถออกกฎหมายใช้เองภายในรัฐได้ เช่น ระบบการศึกษารวมถึงระดับอุดมศึกษาอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของแต่ละรัฐ





ธงชาติเยอรมณี



ตราแผ่นดิน











ที่มา
http://campus.sanook.com/education/oversea/read_03772.php

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศ กับ การตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ คือ การซื้อขายสินค้าแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศต่างๆ  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชิ้นหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


ที่มา  http://www.logisticafe.com/th/2010/06/international-trade/
         http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:BgCieifgk2gJ:www.ba.ru.ac.th/KM/KM2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8.doc+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&cd=5&hl=th&ct=clnk&gl=th